องุ่น มีชื่อวิทยาศาสตร์ ว่า Vitis vinifera เป็นไม้ผล เขตกึ่งร้อน ซึ่งมีการผลิตกัน มากในประเทศแถบอบอุ่นของ โลก เริ่มนำเข้ามาปลูกในเมือง ไทยตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 7 แต่ทำการส่งเสริมการปลูกอย่าง จริงจังและได้ผลดีตั้งแต่ปี 2510 สาเหตุที่องุ่นปลูกได้ ผลดีในเมืองไทย ทั้งๆ ที่อยู่ใน เขตร้อนของโลก เนื่องมาจาก
1.องุ่นสามารถปรับตัวเข้ากับสภาพดินฟ้าอากาศในเมืองไทยได้ เป็นอย่างดี เนื่องจากมีการปลูกมานาน พันธุ์ที่นิยมปลูกกันมากคือ ไวท์ มะละกา (ผลสีเขียว) ซึ่งมีการปลูกร้อยละ 95 และคาร์ดินัล (ผลสีม่วง) ซึ่งมีการปลูกร้อยละ 5 ส่วนที่เหลือเป็นพันธุ์อื่นๆ
2. วิธีการปลูกในระบบการยกร่องกันโดยทั่วไปในจังหวัดสมุทรสาคร นครปฐม และราชบุรี ซึ่งระบบการปลูกบนสันร่องและมีน้ำหล่ออยู่ใน ท้องร่องนี้ ระดับของน้ำจะเป็นตัวจำกัดการเจริญของรากองุ่นมิให้ลงไปได้ลึก แต่รากจะแผ่อยู่เฉพาะ ในบริเวณที่สูงกว่าระดับน้ำเท่านั้น ทำให้ต้นองุ่นมีการ เจริญเติบโตทางด้านลำต้น (vegetative growth) ไม่ดีนัก แต่จะทำให้ออกดอก ได้เร็วขึ้น ซึ่งวิธีการนี้แตกต่างจากการปลูกในระบบที่ดอนของต่างประเทศแต่การปลูกในระบบยกร่อง ของไทยก็มีข้อเสียคือ ต้นองุ่นจะเป็นโรคง่าย และมีอายุสั้นกว่าการปลูกในต่างประเทศมาก
3. มีการตัดแต่งกิ่ง ให้น้ำเพื่อกระตุ้นการออกยอดใหม่ พร้อมทั้งใช้วิธี เร่งให้ออกดอกด้วยการบังคับน้ำและปุ๋ย ซึ่งวิธีการนี้จะช่วยให้องุ่นมีผลแก่ หมุนเวียนบริโภคได้ทั้งปี แต่ในต่างประเทศโดยทั่วไปจะมีผลแก่เพียงปีละ 1 ครั้งเท่านั้น
องุ่นมีพื้นที่ปลูกรวมทั้งสิ้นประมาณ 27,000 ไร่ มีผลผลิตรวม 59 ล้านกิโลกรัม ใช้บริโภคสดภายในประเทศร้อยละ 90 ของทั้งหมด มีการ แปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ ร้อยละ 4 และที่เหลืออีกร้อยละ 6 ส่งออกไป จำหน่ายต่างประเทศ ได้แก่ ฮ่องกง มาเลเซีย ญี่ปุ่น และบรูไน
สำหรับพันธุ์ไวท์มะละกา ซึ่งมีผลสีเขียว ในช่วงเริ่มแรกที่ปลูกผลมี ลักษณะกลม ต่อมาได้กลายพันธุ์เป็นผลยาวรี และปรากฏว่าได้รับความนิยม อย่างรวดเร็ว จนแพร่หลายอยู่ในปัจจุบันและเนื่องจากผู้บริโภคส่วนใหญ่ ในเมืองไทยต้องการองุ่นสำหรับบริโภคสดที่มีลักษณะผลยาวรี เปลือกบางใส และหวานจัด เกษตรกรผู้ปลูกจึงมีการใส่ปุ๋ยเร่งผลและเร่งความหวานกันมาก ทำให้ช่อผลขององุ่นหลังจากเก็บเกี่ยวแล้วเสียหาย โดยที่ผลจะหลุดร่วงและ เน่าได้ง่าย และรวดเร็วมาก นับเป็นปัญหาที่สำคัญในการส่งไปจำหน่าย ต่างประเทศ
แนวทางในการพัฒนาการปลูกองุ่นเพื่ออุตสาหกรรมและเพื่อการ ส่งออก ได้แก่ การนำพันธุ์ที่นิยมในต่างประเทศมาปลูกในบริเวณอื่นๆ ที่ เหมาะสม เช่น ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งมีอากาศค่อนข้าง เย็นและเป็นสภาพที่ดอน จึงไม่ต้องมีการยกร่อง ซึ่งต้นองุ่นจะมีอายุยืน ยาวขึ้น นอกจากนี้ยังได้นำเครื่องจักรมาใช้งาน ทำให้สะดวกและรวดเร็วขึ้น สามารถเพิ่มจำนวนต้นต่อไร่ได้มากขึ้น ซึ่งมีผลให้ต้นทุนการผลิตต่ำลงและ สามารถส่งออกไปจำหน่ายแข่งขันกับต่างประเทศได้

Back